ข้อความต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์..ห้อยสังเคียบ

ประวัฒิความเป็นมา

ประวัฒิความเป็นมา โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ 1. ประวัติโครงการชลประทานกาฬสินธุ์ ประมาณปี 2492 ซึ่งในสมัยนั้นยังมีการแบ่งส่วนราชการเป็นโครงการชลประทานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ ขึ้นอยู่กับเขต 3 จังหวัดมหาสารความ โดยมีฐานะเป็น “หมวดก่อสร้าง” เนื่องจากในระหว่างนั้นอยู่ในระยะเวลาของการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางขึ้นหลายแห่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาเมื่อการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเริ่มมีจำนวนลดน้อยลง “หมวดก่อสร้างกาฬสินธุ์” จึงได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบไปเป็นโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามีชื่อว่า “โครงการอ่างเก็บน้ำ จ.กาฬสินธุ์” โดยสังกัดอยู่กับเขต 3 จังหวัดมหาสารคามตามเดิมและเริ่มบริหารงานในเรื่องการส่งน้ำและบำรุงรักษาประมาณปี 2506 ปี 2522 โครงการอ่างเก็บน้ำ จ.กาฬสินธุ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการชลประทานจังหวัดกาฬสินธุ์” ปี 2527 โครงการชลประทานจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เปลี่ยนชื่อเรียกอีกครั้งหนึ่งเป็น “โครงการชลประทานกาฬสินธุ์” และใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน 2. ที่ตั้งโครงการชลประทานกาฬสินธุ์ โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ ตั้งอยู่เลขที่ 44 บ้านโคกสำราญ ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองกาฬสินธุ์ประมาณ 6 กิโลเมตร 3. หน้าที่ความรับผิดชอบ โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ มีหน้าที่และรับผิดชอบพื้นที่ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ยกเว้นพื้นที่ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัด ( ลำปาว ) ดังนี้.- 3.1 ประสานงานกับส่วนราชการอื่น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการชลประทาน การเพิ่มผลผลิตการเกษตรชลประทาน และการจัดรูปที่ดิน เป็นต้น 3.2 พิจารณาเบื้องต้นในการพัฒนาแหล่งน้ำในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ เพื่อการเกษตร การ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว เป็นต้น 3.3 ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการชลประทาน ในด้านวิชาการซึ่งอยู่ในขอบเขต และนโยบายของกรมชลประทาน 3.4 ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการชลประทาน 3.5 เป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 งานช่างกล มีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลรักษายานพาหนะเครื่องจักรกลต่างๆ เครื่องมือสื่อสาร การสูบน้ำช่วยเหลือการเพาะปลูกรวมทั้งการบำรุงรักษาซ่อมแซมเครื่องกว้านบานระบาย แบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 3 หน่วย คือ หน่วยยานพาหนะ หน่วยเครื่องจักรกล และหน่วยสื่อสาร งานส่งน้ำและบำรุงรักษา มีหน้าที่ประสานกับอำเภอ และส่วนราชการอื่นเพื่อเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก การส่งเสริมกิจกรรมต่อเนื่องและกิจกรรมอื่น ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและน้ำท่วม รวมทั้งรับผิดชอบการส่งน้ำและบำรุงรักษาโครงการขนาดกลาง และโครงการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย แบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น หน่วย ธุรการ หน่วยส่งน้ำและบำรุงรักษาตามความจำเป็น ซึ่งโครงการชลประทานกาฬสินธุ์ มีงานส่งน้ำและบำรุงรักษา 4 งาน ดังนี้ 1 งานส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 รับผิดชอบงานส่งน้ำและบำรุงรักษาในเขต อ.เมือง อ.กมลาไสย อ.ร่องคำ กิ่ง อ.ฆ้องชัยพัฒนา และกิ่ง อ.ดอนจาน มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยสีทน อ่างเก็บน้ำห้วยแกง อ่างเก็บน้ำร่องเกษตร และอ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์ รวมทั้งงานชลประทานขนาดเล็ก อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ จำนวน 35 แห่ง 2 งานส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 รับผิดชอบงานส่งน้ำและบำรุงรักษาในเขต อ.กุฉินารายณ์ อ.นามน และอ.ห้วยผึ้ง มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 แห่งคือ อ่างเก็บน้ำห้วยผึ้ง อ่างเก็บน้ำห้วยฝา อ่างเก็บน้ำห้วยสะทดและอ่างเก็บน้ำห้วยจุมจัง รวมทั้งงานชลประทานขนาดเล็ก อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ จำนวน 38 แห่ง 3 งานส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 รับผิดชอบงานส่งน้ำและบำรุงรักษาในเขต อ.ยางตลาด อ.ห้วยเม็ก อ.ท่าคันโทและอ.หนองกุงศรี มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 5 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำบึงอร่าม อ่างเก็บน้ำหนองหมาจอก อ่างเก็บน้ำหนองหญ้าม้า อ่างเก็บน้ำห้วยวังลิ้นฟ้า และอ่างเก็บน้ำหนองบ้านสา รวมทั้งงานชลประทานขนาดเล็ก อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ จำนวน 43 แห่ง 4 งานส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 รับผิดชอบงานส่งน้ำและบำรุงรักษาในเขต อ.เขาวง อ.สหัสขันธ์ อ.สมเด็จ อ.คำม่วง กิ่ง อ.สามชัย และกิ่ง อ.นาคู มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 4 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำห้วยมะโน อ่างเก็บน้ำห้วยสายนาเวียง อ่างเก็บน้ำห้วยจาน และอ่างเก็บน้ำห้วยสังเคียบ รวมทั้งงานชลประทานขนาดเล็ก อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ จำนวน 69 แห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น